วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ข้อควรรับทราบก่อนไปเข้าทำงานที่ออสเตรเลีย

ข้อควรรู้ก่อนเริ่มหางาน

ก่อนที่เราจะเริ่มหางานใดๆ ก่อนอื่นเราควรเรียนรู้อย่างพิถีพิถันเกี่ยวกับสิทธิ์ในการทำงานของตัวเองสำหรับระดับของวีซ่าที่เราถืออยู่ เช่น
Work and Holiday Visa : ทำงานได้ 6 เดือนต่อ 1 นายจ้าง / ไม่จำกัดชม.การทำงานต่อสัปดาห์
สำหรับความหมายของ 6 เดือนนี่หมายความว่าว่านับตั้งแต่วันแรกที่เราเริ่มทำงาน นับไป 6 เดือนนะ การที่เราจะบอกว่า เราทำเป็น Casual ทำไปเดือนนึง แล้วไม่มีงานไปอีกเดือนนึง เพิ่งได้มาทำต่อ เดือนที่ไม่ได้ทำงานก็ต้องถือว่านับไปด้วย
การที่เราหยุดทำงานกับนายจ้างนึงไปโดยไปทำที่อื่น เช่น
ตอนแรกทำงานร้านอาหารในเมืองอยู่ ทำได้สามเดือน พอถึงฤดูก็ขึ้นเขาไปทำงานสกีรีสอร์ท หรือไปทำงานฟาร์มอีกสามเดือนแล้วพอกลับมาในเมืองพบว่าที่ร้านอาหารยังต้องการคนอยู่ จะไปทำอีกสามเดือนก็ไม่ได้แล้ว

Student Visa : ทำงานได้ 20 ชม.ต่อสัปดาห์ (และจะเปลี่ยนเป็น 40 ชม.ต่อ 2 สัปดาห์เร็วๆนี้) ไม่จำกัดเวลาทำงานต่อนายจ้าง
โดยในช่วงปิดภาคเรียนผู้ถือวีซ่านักเรียนสามารถทำงานได้ full-time 

สำหรับผุ้ถือวีซ่านักศึกษาบางครั้งก็อาจจะได้ยิน(ใครก็ไม่รู้บอก)ว่าวีคนึงทำเกิน 20 ชม.ได้ เพราะบางวีคเราไม่ได้ทำเค้าคิดเฉลี่ยๆเอา
อันนั้นไม่จริงนะ ถ้าเกินก็คือเกินก็คือผิด เพียงแต่ว่าจะโดนจับได้หรือไม่นั่นอีกเรื่องนึง

Student Independent Visa : หรือวีซ่าผู้ติดตามนักศึกษา ปกติแล้วสามารถทำงานได้เท่ากับนักเรียนคือ 20 ชม.ต่อสัปดาห์
แต่สำหรับผู้ถือวีซ่าติดสอยห้อยตามนักศึกษาป.โท และป.เอกสามารถทำงานได้ full-time ตลอดไม่ว่าจะช่วงเปิดหรือปิดภาคเรียนของผู้ถือวีซ่าหลัก
หลังจากทราบข้อตกลงในการทำงานของวีซ่าตัวเองแล้ว เราก็ควรจะมารู้ถึงสิ่งที่เราควรจะได้รับหากทำงานที่จ้างเราตามข้อกำหนดถูกต้องตามข้อบัญญัติของออสเตรเลีย

ลักษณะการจ้างงาน
ในออสเตรเลียเราแบ่งลักษณะของการจ้างงานออก เป็นสามชนิดหลักๆได้แก่

1) Full-time employee : โดยทั่วไปจะต้องทำการทำงานประมาณ 38 ชม.ต่อสัปดาห์ ผู้ที่ถูกจ้างแบบ full time ควรจะได้ benefits ต่างๆเช่น paid annual leave / sick leave / maternity leave / holiday pay (เช่น ช่วงที่หยุดงานก็ต้องได้รับค่าจ้างปกติ – ทั้งนี้ทั้งนั้นเค้าก็จะมีจำกัดนะ ว่าต้องทำไปนานเท่าไหร่ถึงจะเริ่มใช้สิทธิ์เหล่านี้ได้ ไม่ใช่เข้าไปทำวันแรกขอ annual leave วันถัดไปเลยเป็นต้น)

2) Part-time employee : จะทำงานเป็นตัวเลขชม.ที่น้อยกว่า full-time แต่มักจะได้ benefits เหมือนๆกัน โดยจะคำนวนเป็นส่วนสัดกันไปหรือที่เรียกว่า Pro rata 
โดยปกติแล้วการทำงานเป็นกะ เป็นชิฟท์ที่แน่นอนมักจะเป็น part-time

3) Casual employee : จะดำเนินการนับเป็นชม. หรือวัน โดยจะมีความเสี่ยงของการที่ไม่มีงาน ไม่ได้มีการการันตีให้จากทางหัวหน้าเท่ากับสองแบบข้างต้น และคนที่ทำ casual ก็มักจะไม่ได้ benefits ต่างๆ ถ้าป่วย หรือถ้าลาก็ไม่ได้เงินในวันนั้นๆไป หรือเรียกว่าเป็นลูกจ้างรายวันก็ไม่ผิดนัก
อย่างไรก็ตามการทำงาน Casual มักจะได้เงินสูงกกว่า Part-time/ Full-time พอสมควรหากหารมาเป็นค่าแรงงานต่อชม. เพราะต้องรับความเสี่ยงเยอะกว่า
โดยปกติแล้วสำหรับเด็ก WAH หรือนักเรียน งาน casual ที่นิยมจะเป็นงานที่เป็นตามฤดูกาล เช่น แพกเชอร์รี่ แพกหนังสือในโรงงานเพราะมีงานเร่ง งานเหล่านี้อาจจะมีไปเป็นอาทิตย์หรือเป็นเดือน แต่ก็ถือว่าเป็นช่วงที่เก็บเงินได้ดี

ศึกษาต่อ ออสเตรเลีย เรียนต่อ ออสเตรเลีย  เรียนต่อออสเตรเลีย  โรงเรียนนิวซีแลนด์ เรียนต่อ นิวซีแลนด์  โรงเรียนประจำที่อังกฤษ  Summer อังกฤษ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น